วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

DAY 7 : 描写

18.03.17

   รอบนี้ในคาบเรียน app jap ling อาจารย์ให้ฝึกอธิบายสภานการณ์โดยให้ดูรูปภาพก่อน เริ่มจากแบ่งนักเรียนเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกให้ดูภาพแล้วอธิบาย ส่วนอีกกลุ่มจะต้องหันหลังให้ภาพแล้วฟังที่เพื่อนอธิบาย เราได้เป็นกลุ่มที่สองคือเป็นผู้ฟังก่อน ตอนแรกเห็นเพื่อนบ่นว่ายากก็เริ่มกลัวอยู่ แต่ฟังที่เพื่อนอธิบายแล้วก็พอรู้เรื่องนะ แล้วก็ถูกตามภาพด้วย(ได้ดูภาพทีหลัง)

   พอเป็นคราวตัวเองต้องอธิบาย ดูภาพไม่รู้เรื่องเลย555 ต้องออกไปคุยกันข้างนอกเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน ถ้าให้อธิบายเป็นภาษาไทยก็จะประมาณว่า ภาพที่ได้ดูเป็นเหมือนการ์ตูนสั้นสี่ช่อง ไม่มีคำพูด คล้ายๆที่อยู่ในขายหัวเราะ(ยังมีอยู่ไหมสมัยนี้5555)   ภาพแรกก็จะมีเด็กเล็กที่ยังคลานอยู่กับหมานอนอยู่ตัวนึง ต่อมาคือเด็กก็คิดว่าอยากจะขี่หมา (เป็นรูปกรอบความคิดขึ้นมาแถวๆหัว) จากนั้นเด็กก็เลยคลานเข้าไปใกล้ๆ แต่หมามันก็ลืมตาขึ้นมาพอดี เด็กเลยเปลี่ยนทิศ คือคลานอ้อมไปด้านหลัง แต่พอคลานไปถึงหมาก็หันกลับมา เด็กก็เลยตกใจ (อันนี้มารู้ทีหลังว่าคือที่เด็กตกใจเพราะคิดว่าคลานมาด้านหลังแล้วทำไมหมายังมีหน้ามีตา แต่เราไม่คิดถึงขนาดนั้น คิดว่าเด็กตกใจเพราะหมารู้ทัน)

  ตอนอธิบาย อาจารย์ให้ลองอัดเสียงไว้ ก็เท่าที่ลองมาแกะดูก็ได้ประมาณนี้

写真の中には、あのう、犬と赤ちゃんがいました。犬はその時寝ている。そして、赤ちゃんは犬に乗りたいと思って、その犬に近づいていく。そして、その犬は目覚まして、犬の顔と赤ちゃんの顔とあった。そして、あのう、それで、その赤ちゃんはちょっと後ろ行って回って、犬の後ろ行って、また乗ろうと思ったけど、その犬は振り向いて、また、もう一度、顔あった。



   จากที่ตัวเองพูดมีสิ่งที่อยากแก้หลายอย่างมาก ลองลิสต์มาก็จะได้ประมาณนี้

1.การใช้รูปสุภาพกับรูปธรรมดาปนกัน ตอนที่ขึ้นตอนแรกใช้ いました แต่ต่อมากลายเป็น 寝ている
2. ใช้ その เยอะเกินไป จะเห็นได้ว่ามีทั้ง その犬 その赤ちゃん
3. ใช้คำฟุ่มเฟือยเกินไป เช่น そして แล้วยังต่อด้วย それで  , また ต่อด้วย もう一度
4. ไม่รู้คำศัพท์ เช่น คำว่าคลาน (ハイハイする) เลยเปลี่ยนไปใช้คำว่าไป (行く) หรือคำว่าเผชิญหน้า(顔を合わせる) กลายเป็นคำว่า 顔あった ไปแทน
5. การละคำช่วย เช่น 犬の後ろ()行って

  ต่อมาเป็นการอธิบายรูปที่สอง รูปนี้คือรูปที่กลุ่มแรกอธิบายและให้เราหันหลัง โดยรอบนี้อาจารย์แจกการเขียนอธิบายสถานการณ์ที่คนญี่ปุ่นเขียนไว้เพื่อให้รู้วลีและคำศัพท์ที่เป็นประโยชน์ แล้วค่อยมาลองพูดอีกรอบ รูปนี้สถานการณ์คือ น่าจะเป็นล้อบบี้ของโรงแรม มีโซฟา ที่โซฟามีคนนั่งอยู่สองคน เป็นผู้ชาย คนหนึ่งนั่งอ่านหนังสือพิมพ์ อีกคนนั่งเฉยๆ แล้วก็มองไปเห็นผู้ชายสะพายกล้องและถือแผนที่(น่าจะเป็นนักท่องเที่ยว) จากนั้นก็สบตากัน แล้วผู้ชายคนนั้นก็เดินเข้ามา ผู้ชายที่นั่งอยู่เลยไปหลบหลังหนังสือพิมพ์ที่ผู้ชายคนข้างๆอ่าน

  เท่าที่คุยกันก็ตีความกันมาว่าผู้ชายคนที่เป็นนักท่องเที่ยวน่าจะเป็นชาวต่างชาติ แล้วผู้ชายที่นั่งอยู่อาจจะไม่อยากคุย ไม่มั่นใจในภาษา(มีคนญี่ปุ่นเขียนว่าเป็นนิสัยของคนญี่ปุ่นที่จะหลีกเลี่ยงชาวต่างชาติ) ก็เลยหลบดีกว่า เราเองก็ตีความไม่ได้ขนาดนั้นหรอก(555) ก็จำๆเอา แล้วอาจารย์ถึงให้ลองพูดอีกครั้ง ได้ประมาณนี้

 ホテルのロビーのソファーに二人の男の子が座っている。その二人は知り合いではありません。そして、ある男の人は新聞を読んでいる。そして、もう一人の男の人はただ座っている。そして、ちょっと離れたところにカメラと地図を持っている外国人がいる。その外国人は困っている顔をして、地図を見て、どこか行きたかったので、でもその地図たぶん読めない。だから、誰かに聞こうと思った。そして、その外国人は暇な男と目あって、「あ!この人聞こう」と思ったので、その男の人に歩いて行った。でも、その男の人は外国人と話したくないので、隣の新聞を読んでいる人と近づいて、新聞の後ろに隠れた。



 อันนี้รู้สึกว่าเละเทะกว่าอันแรกมาก แถมพูดยาวกว่ามากเพราะเราได้ข้อมูลทั้งหมดหลังจากพูดคุยกับเพื่อนและอาจารย์ สรุปข้อที่อยากแก้ไขก็คล้ายๆเดิม

1.การใช้รูปสุภาพกับรูปธรรมดาปนกัน
2. ใช้ そして เยอะมาก
3. その ยังคงเยอะเช่นกัน
4. พูดผิดไวยกรณ์หรือศัพท์ผิด เช่น 新聞を読んでいる人近づいて ควรเป็น 新聞を読んでいる人近づいて หรือ 困っている顔 น่าจะเป็น 困っ

   ที่คิดว่าอันหลังพูดได้แย่กว่าเพราะพอเราได้ข้อมูลมาเยอะ เราพยายามจะใส่มันเข้าไปทั้งหมด รวมถึงพยายามจะใช้คำเลียนแบบคนญี่ปุ่น แต่เพราะยังไม่คล่องทำให้จะกุกตะกักและพูดผิด

  อีกประเด็นที่อาจารย์เสริมให้คือการใช้รูปที่แสดงอารมณ์หรือท่าทาง เช่น ている、てしまう หรือพวกคำเลียนเสียงต่างๆเพื่อให้สื่ออารมณ์ได้ดีขึ้น

  สรุปง่ายๆคือ ฝึกวนไปค่ะ!!

3 ความคิดเห็น:

  1. ครั้งที่สองไม่แย่นะคะ ครั้งที่หนึ่งก็เช่นกัน เนื่องจากทำสองเรื่องติดกันเกินไปเลยอาจจะรู้สึกอย่างนั้น หากทำบ่อยๆก็จะค่อยๆดีขึ้นค่ะ

    ตอบลบ
  2. เจอปัญหาคล้าย ๆ กันคือไม่รู้ศัพท์ทำให้พรรณนาไม่ได้ ทางแก้ก็คงต้องเรียนรู้ศัพท์มากขึ้นโดยเฉพาะสิ่งรอบ ๆ ตัว (แต่ไม่รู้ศัพท์เพราะไม่ค่อยได้พูดถึง) อีกปัญหานึงที่รู้สึกขึ้นมาก็คือคำว่า その人 จะเข้าใจยากถ้าในเรื่องมีคนหลายคน แต่ผักกาดก็แก้ได้ดี เรียนชาวต่างชาติว่า 外国人 ไปเลย ก็เลยไม่สับสนว่าใครเป็นใคร

    ตอบลบ
  3. 外国人の4コマは、絵を見ながらであれば、だいぶわかりやすいと思います。「男の人」と「男の子」をきちんと使い分けたり、顔の表情からわかるその人の気持ちの描写まで入れたりできれば、絵を見ていない人にもしっかり伝わるようになると思いますよ。

    ตอบลบ