วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2560
DAY 9 : いい聞き手になろう!
กลับมาอีกครั้งกับบล็อคที่เป็นบทเรียน ล่าสุดได้เรียนเกี่ยวกับเรื่องของ いい聞き手 หรือการเป็น
ผู้ฟังที่ดี ผู้ฟังที่ดีไม่ใช่แค่ตั้งใจฟังเท่านั้น สำหรับภาษาญี่ปุ่น ยังมีสิ่งสำคัญต่างๆเช่น あいづち
คือพวกคำตอบรับ เช่น はい、えー、そうですか หรือคำที่แสดงให้ผู้พูดรับรู้ว่ากำลังฟังอยู่และ
มีความรู้สึกร่วมไปกับบทสนทนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยจำเป็นมากในภาษาไทย โดยปกติเวลาที่ฟังเพื่อน
พูดก็จะตอบรับเป็นครั้งคราว ชอบฟังเงียบๆจนกว่าเพื่อนจะเล่าจบแล้วค่อยพูดต่อทีเดียวมากกว่า
ในคาบเรียนอาจารย์ก็ให้ลองฟังที่เคยอัดเสียงตอนเล่า 描写 ก็รู้ว่าคำพูดที่ตัวเองใช้มากที่สุดคือ
うん นอกนั้นก็ไม่พูดอะไรอีก
อาจารย์เลยให้ทุกคนลองมาฟังรายการที่ชื่อว่า 日天(nichiten)ซึ่งเป็นรายการของทาง TBS radio
ปัจจุบันไม่มีแล้ว รายการก็จะประมาณว่าจะอ่านจดหมายจากทางบ้านแล้วก็แสดงความคิดเห็น คนอานจะ
เป็นผู้จัดรายการผู้ชาย แล้วก็จะมีผู้จัดรายการร่วมอีกคนเป็นผู้หญิงคอยฟังและคอยตอบรับ
เรื่องที่เลือกมาฟังเรื่องแรกคือเรื่อง 必死に走った話ー告白の後?ー เป็นเรื่องของเด็กหนุ่มอายุ
17 จากจังหวัดไซตามะเล่าว่าตัดสินใจสารภาพรักกับเพื่อนสนิทผู้หญิงแล้วก็ได้คบกัน
อีกเรื่องที่เลือกฟังคือเรื่อง 忘れられないあの言葉ー十年後の私 เป็นเรื่องของผู้หญิงคนหนึ่ง
ที่ป่วยในวันที่ต้องส่ง 卒業文集 เกี่ยวกับตัวเองในอีกสิบปีข้างหน้า อาจารย์เลยเขียนแทน แต่ในปัจจุบัน
ตัวเองกลับตรงข้ามกับสิ่งที่อาจารย์เขียน สิ่งที่สังเกตจากการตอบรับของผู้หญิงในเรื่องนี้ก็คล้ายเดิม
ลองสรุปออกมาก็จะได้ประมาณนี้
1. ในตอนที่ผู้ชายอ่านข้อความ ผู้หญิงมักจะตอบรับท้ายประโยค เช่น このチャンスを逃したら何も伝えられず卒業してしまうかもしれない、〈ん〉だったら振られても、ゆおう、もうここで、終わらせようではないか、〈はー〉そしてその子に伝えました、〈はい〉今まで好きだったと、そしたら、その子は何とも断る雰囲気ではなさそう、〈は〉むしろその気がありそう。
2. ช่วงที่ผู้ชายอ่านแทบจะไม่ค่อย あいづち และส่วนใหญ่เป็น あいづち ที่แสดงการรับรู้ เช่น はい、ん、えー
3. ส่วนตอนที่อ่านจบและพูดถึงเรื่องราวในจดหมาย จะใช้ あいづち เป็นจำนวนมากเพราะเหมือน
ทั้งสองฝ่ายคุยกัน ผู้หญิงมักจะหัวเราะไปกับสิ่งที่ผู้ชายพูด แต่จะไม่แทรกกลางประโยค จะรอให้ผู้ชายพูดจบประโยคก่อน
4. ใช้พวก そうなんだ、そうか、そうですね เยอะ
5. มักจะตอบรับทุกครั้งที่ผู้ชายลงท้ายด้วย よ、ね
6. บางครั้งมีการทวนสิ่งที่ผู้ชายพูดมา เช่น それが楽しくてね、〈{笑}、うーん、{笑}〉面白かったーと思って〈面白いです{笑いながら}〉
7. ใส่ความคิดเห็นลงไปในบางครั้ง เช่น もう一つの保育園はさらにその先生の手が入っちゃって、〈うん〉なんかウルトラマンのように、正義感をもつ大人になりたい〈{笑}〉みたいな、〈やりすぎでしょ{笑いながら}〉
8. มีการใช้คำผสมระหว่างเป็นทางการกับไม่เป็นทางการ จะเห็นได้มีการใช้ภาษาทางการเช่น はい、
そうですね、そうなんですか และภาษาไม่เป็นทางการเช่น うん 、そうかな
.........................................................................
หลังจากที่ได้ลองคนญี่ปุ่นพูดกันก็รู้สึกว่าคนญี่ปุ่นใช้ あいづち เยอะๆจริง และนอกเหนือจาก
あいづち แล้วก็ยังมีเคล็ดลับอีกหลายอย่างที่จะทำให้เป็นผู้ฟังที่ดีเช่นข้อด้านบนที่สังเกตมา คิดว่า
หลังจากนี้คงต้องพยายามใช้ให้มากขึ้น UU
สำหรับหัวข้อนี้ก็คงประมาณนี้ ไว้เจอกันใหม่ค่ะ ~~
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
สังเกตได้ดีมาก ชอบข้อ 5, 6 ค่ะ
ตอบลบที่อาจารย์ได้พูดไว้คราวก่อน ลองไปสังเกตดูแล้วก็เป็นไปอย่างที่เขียนไว้ในนี้เลย เขียนสรุปได้ดีมากๆครับ
ตอบลบ